การกรวดน้ำ 2

กรวดน้ำ ถ้าเราไม่ได้เทน้ำ แค่ใช้จิตอุทิศ/ที่ให้ผู้ร้บจะได้รับหรือไม่?

การใช้น้ำในการอุทิศบุญ เป็นการรับแบบอย่างมาจากพิธีพราหมณ์ที่มีการเทน้ำ
การแผ่เมตตาก็มิได้กรวดน้ำ ครูบาอาจารย์ก็บอกว่าถึงอย่างแน่นอน
ถ้าใจตั้งใจอุทิศให้จริงๆ ผู้ให้บริสุทธิ์แล้วอย่างไรก็ถึงจ๊ะ

หลวงพ่อ : น้ำไม่ต้องไปกรวดมันหรอก กรวดน้ำทำยังไง?
ก็ต้องไปดู ดูว่าน้ำในถังมันเหลือเท่าไหร่ ในคลองมันแห้ง ลาไปหรือมากขึ้นมา อย่างนั้นกระมัง
เพราะสำรวจกับตรวจ มันศัพท์เดียวกัน ไอ้ "กรวด" ก็ไม่ถูกอีกน่ะแหละ
สำนวนทางศาสนาเขาเรียก "อุทิศ" แปลว่า เจาะจง คือ ไม่เห็นต้องใช้น้ำ
การ "กรวดน้ำ" มันเริ่มสมัยเปรต มาทวงขอบุญกุศล จากพระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้า ทรงบอกวิธีทำให้ว่า
ให้พระองค์ ถวายภัตตาหาร กับพระสงฆ์แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ซี ท่านก็ทำแบบนั้น อีตอนอุทิศส่วนกุศล ท่านเป็นคนมาจากพราหมณ์
ที่มีธรรมเนียมว่า จะให้ของใคร ก็ต้องเอาน้ำราดมือผู้รับ แสดงเป็นอาการว่า ยกให้
ท่านก็เอาน้ำในคนโท เทราดพระหัตถ์พระพุทธเจ้า เลยรับกันต่อๆ มาว่า อุทิศส่วนกุศลต้องราดน้ำด้วย

อุทิศ นี่แปลว่า เจาะจง เราทำบุญเจาะจงไปให้ ถ้าไปใช้น้ำก็เจ๊ง เพราะใจมัวเป็นห่วงน้ำ ห่วงมือ ใจก็แกว่ง ใช้ไม่ได้หรอก เสียผลตั้งเยอะ
เคยเห็นผีมาหลายรายแล้ว ที่มารับส่วนกุศล แต่ไม่ได้กิน บางครั้งเวลาทำบุญนะ คนที่นำอุทิศส่วนกุศลน่ะ มันให้แต่ เฉพาะญาติ
พวกที่ไม่ใช่ญาติ ก็เดินร้องไห้ไปเลย น้ำตาไหล เพราะไม่ใช่ญาติ ไม่มีโอกาส นี่เป็นยังงี้ เป็นผีแล้วมันแย่งกันกินไม่ได้
ทีหลังไม่ต้อง "กรวดน้ำ" นะ ตั้งใจเฉยๆ มีผลกว่าตั้งเยอะ ฉันไม่ใช้เลยแหละ แล้วเวลาอุทิศส่วนกุศลจริงๆ นี่ใช้ภาษาบาลีไม่ดีหรอก
เพราะอะไรรู้ไหม เพราะบางทีไอ้ภาษาบาลีนี่ มันไม่ตรงกับเจตนาที่จะให้
อย่างฉันเจริญกรรมฐานกับหลวงพ่อปานนี่ คืนที่ 3 มีผีมานั่งอยู่ตรงหน้า ยายคนหนึ่งอ้วนยังกะพ้อม มีไอ้เจ้าคนหนึ่งผอมกะหงองก๋อง
ยายนั่นแกบอก เอ้า จะพูดอะไรก็พูดซี จะขออะไรท่านก็ขอ ไอ้เราก็มองดู เอ...ไอ้นี่ มันคงอด อาจารย์ฉัตรท่านเคยบอกว่า
ถ้าไม่ขอก็อย่าให้ แต่มานึกดูว่า เอ๊ ไอ้นี่มันพูดไม่ได้เราจะไปรอให้ มันขอทำไม ก็เลยให้เวลาให้ก็ "อิมินา" เข้าให้
อิมินาปุญญกุเม อุปัชฌาย์ ฯลฯ แปลไปเถอะไม่ได้ ตรงกับหมอนั่นเลย ไปให้เอาครูอาจารย์ ที่ไหนก็ไม่รู้
ไอ้คนนั่งตรงหน้า ไม่ได้ให้ ว่าไปไม่ถึงครึ่ง พวกมาแล้วโซ่คล้องคอหมับ ลากไปเลย
ตอนเช้าไปบิณฑบาตกลับมา ก็ฉันข้าว หลวงพ่อปาน โดยปกติสังเกตได้ ถ้าไม่มีเรื่องอะไรจะพูด ฉันข้าวเสร็จ ท่านต้องเช็ดบาตร เช็ดช้อน
เช็ดชามของท่าน พระอื่น ก็ต้องทำเหมือนกัน แล้วข้าวแกง ที่กินหมด แล้วก็ไม่ใช่โยนให้เด็กล้าง พระต้องล้างเองเช็ดเอง
เช็ดถ้วยเช็ดชามเสร็จ ท่านก็จะยถาทันที วันไหนเช็ดชามเสร็จยังไม่ยถา
วันนั้นแปลว่า มีเรื่องแล้ว อีวันนั้น มองไปมองมา พอเจอะหน้ากัน ท่านก็พยักหน้าถามว่า

ยังไงพ่ออิมินาคล่อง แล้วมันจะได้แดกรึ?
แล้วกัน เอาเราเข้าแล้ว รู้เสียด้วยนะ ท่านอยู่ในกุฏิเราอยู่ใน ป่าช้า โกหกท่านไม่ได้ ผีพวกนั้นน่ะมันไปเร็วมาเร็ว
ต้องใช้เวลาเร็วๆ ถามว่า ทำยังไง ท่านบอกว่า เอางี้ พอเห็นหน้ามันปั๊บ ก็ตั้งใจเลยว่า
ฉันบำเพ็ญกุศลมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ บุญบารมีจะมีแก่ฉันเพียงใด เธอจงโมทนาและมีประโยชน์อย่างเดียวกับที่ฉันจะพึงได้รับ
เอาแค่นี้ อย่าให้ยาวกว่านี้ ถ้าสั้นกว่านี้ได้เท่าไรยิ่งดี เพราะว่า มันคอยนานไม่ได้

ถาม - คนไปนิพพานแล้วอุทิศให้ได้หรือไม่?
ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าเราก็ควรอุทิศให้ได้ เพราะเป็นการสนองคุณ แสดงความกตัญญูกตเวที ความจริง ท่านไม่ต้องการหรอก
ของท่านมีจนล้นแล้ว ถึงแม้ท่านจะไม่รับ แต่อย่าลืม อย่างเราเป็นพ่อแม่เขาน่ะ ถ้าไอ้ลูกมันอยู่บ้านไกล นานๆ มาหาที
เอาของอะไรมาให้ ถึงแม้ว่าของนั้นไม่มีค่าอะไรเราก็ยังดีใจ ใช่ไหม เห็นว่า ลูกน่ะมีน้ำใจ มีกตัญญูรู้คุณ อันนี้ ก็เหมือนกัน
ถ้าหากว่า เราอุทิศส่วนกุศลให้พระพุทธเจ้า ก็แสดงว่า เรากตัญญูรู้คุณของพระพุทธเจ้า การบูชาคุณของพระพุทธเจ้าด้วยกตัญญูรู้คุณนี่
เป็นเหตุให้เราไม่ลงนรก ท่านจะรับหรือไม่รับนี่ไม่สำคัญ สำคัญที่ว่า ให้ใจของเราตามระลึกถึงอยู่เสมอก็แล้วกัน

โดย พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ความคิดเห็น