ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ จากนักวิทยาศาสตร์จากองค์การ นาซ่า (NASA) แต่กลับมาพบความจริงในป่าช้า










“ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ” นักวิทยาศาสตร์นาซ่า นำหลักการบริหารแบบพุทธะ หาสติควบคุมความคิด จิต พาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ปูนซีเมนต์ไทยและการบินไทย ประสบความสำเร็จมาแล้ว 

พูดถึงหลักการบริหารองค์กร ทุกคนคงจะมองแต่ภาพตำราต่างประเทศและการเรียนที่เป็นตำราวิชาการ แต่หารู้ไม่ว่าที่จริงแล้วหลักการบริหารเหล่านั้น ต่างมีพื้นฐานสำคัญและมีหัวใจที่สำคัญที่สุดมาจากจิตใจที่อยู่ภายในพนักงานทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารลงมาสู่พนักงานระดับล่าง

ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถใช้หลักธรรมะเข้ามาผสมผสานในการบริหารจัดการองค์กรได้ดีเยี่ยม เขาเคยทำงานที่องค์การนาซ่าอีกได้รับรางวัล ผลงานที่ดีที่สุดในการประชุมทางวิชาการด้านเครื่องยนต์ไอพ่นนานาชาติ ปีพ.ศ 2528 แต่วันนี้เป็นผู้สอนหลักบริหารองค์กรแนวพุทธให้กับบริษัทชั้นนำหลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น บริษัทเครือซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย บริษัท สหพัฒน์ จากพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในตัว ทำให้ดร.วรภัทร์ ต้องการพิสูจน์ความจริงในทางพระพุทธศาสนา และการพิสูจน์นั้นก็นำมาสู่ความเข้าใจแห่ง จิต ความคิด และสติ ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม อีกทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับนำหลักธรรมทางศาสนาพุทธมาประยุกต์กับการสอนหลักการบริหารอีกด้วย

ดร.วรภัทร์ ได้อธิบายถึงหลักการบริหารองค์กรแบบพุทธว่า หลักการบริหารก็เหมือนกับที่พระไตรปิฎกได้สอนไว้ พระพุทธเจ้าน่าจะเป็นบิดาแห่ง HR และ Management เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารองค์กรสำหรับทั้งผู้บริหารและลูกน้องคือ ต้องรู้จักสติ ซึ่งเป็นการฝึกพื้นฐาน

ฝึกสติสร้างระบบความคิด 
เทคนิดการสอนของ ดร.วรภัทร์จะให้ผู้เข้าฝึกหาว่าอะไรคือสติ อะไรคือความคิด และอะไรคือจิต เพราะเมื่อเห็นระบบการทำงานของทั้ง 3 สิ่งนี้แล้ว ต่อไปสิ่งที่ผู้เข้าฝึกก็ต้องคอยระวังก็คืออย่าให้ความคิดทำร้ายจิต หรือพอจิตเกิดความคิด ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ดีก็ต้องระวัง ต้องหัดตัวเองให้ต้องเอาสติไปทำงานแทนจิต

ดร.วรภัทร์มองว่า จิตเปรียบเหมือนลูกตุ้ม ถ้าลูกตุ้มจะแกว่งเป็นบวกหรือลบ สิ่งที่ทำให้ลูกตุ้มเบนไปทางซ้ายหรือขวาก็คือตัวความคิดของเรา ซึ่งความคิดเหล่านั้นก็มาจากสัญญาเก่า จะเข้ามาสะกิดให้เกิดความรู้สึกเป็นบวกลบ พอเกิดความรู้สึกนั้นคือ “จิตเกิดแล้ว” นั้นเอง

“เคยชอปปิ้งไหม ง่ายๆเลย ถ้าไปช้อปปิ้งกับแฟนที่ฝรั่งเศส พอหมดเวลาแฟน

บอกให้ขึ้นรถ ยังตัดใจอยากช็อปอยู่ต่อ แต่ต้องขึ้นรถไปลียอง ขณะอยู่บนรถก็คิดถึงแต่กระเป๋า นั้นแหละจิตเกิดแล้ว เป็นความอยาก ซึ่งเกิดความคิดเป็นผลผลิตจากจิต ตอนนั้นจะแยกไม่ออกว่าจิตกับความคิดทำงานร่วมกัน แต่ถ้าเป็นผู้ที่ฝึกสติมาดีแล้วเป็นพอบอกว่าไปก็ไป ก็จะไม่มีความคิดปรุงแต่ง รู้ตัวอยู่ เสมอว่าตอนนี้ต้องอยู่กับแฟนและนั่งรถไฟไปลียอง”

แทรกพุทธธรรมในทฤษฎี 
หลังจากที่ค้นหาวิธีการคิดเป็นระบบได้แล้ว ดร.วรภัทร์ จะแทรกพุทธธรรมเข้ามาในทฤษฎีหลักการบริหารต่างๆ เพราะดร.วรภัทร์เชื่อว่าว่า หัวใจสำคัญจริงๆของหลักการบริหารนั้นสำคัญอยู่ที่จิตใจเป็นอย่างแรก ตัวอย่างเช่น บริษัท ทิพยประกันภัย ที่ดร.วรภัทร์ เป็นที่ปรึกษานั้น ดร.ก็สอนธรรมะควบคู่ไปกับ สอนการวางแผนยุทธศาสตร์

เริ่มแรกจะให้ผู้เข้าฝึกที่เป็นทั้งผู้บริหารและลูกน้องหายใจลึกๆทำจิตให้ว่าง คิดไปถึงว่าอีก 4-5 ปี ทิพยประกันภัยจะเป็นยังไง ให้ตัดความกังวล ตัดความกลัว ความลำเอียงออกมาจากจิตให้ได้ นั้นคือตัดความคิดอันฟุ้งซ่านที่จะไปให้ก่อให้เกิดจิต หลังจากนั้น หาจุด Dead lock จุด หา success factor ให้เจอ หาตัวแปรที่ทำให้องค์กรล่ม อย่าใช้อารมณ์โมโห ใช้เวิร์กช็อปอย่าประชดกันในที่ประชุมใช้ความเป็นจริงอย่าเอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

“เช่นเวลาที่ประชุมกัน เมื่อใครก็ตามที่เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นก็จงบอกว่า ช่วงนี้ผมจิตเกิดนะขอ งดออกความคิด ก็จะทำให้ไม่ทะเลาะกัน พอไม่ทะเลาะกัน จิตก็ว่าง คิดงานได้สะดวกราบรื่น อย่างของเครือปนซีเมนต์ ไทย เขาใช้แบบพุทธวิธีที่ผมสอน ตอนนี้เขาผลผลิตเพิ่ม ของเสียลดลง ประชุมกันก็ทะเลาะกันน้อยลง”

ตั้งสติรับภาวะเศรษฐกิจขาลง 
หรือแม้กระทั้งการตั้งรับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสุ่วัฏจักรขาลงในอนาคตอันใกล้นี้ ดร.วรภัทรก็ต้องให้ผู้บริหารตั้งสติ ตัดความกังวลออกไป เพราะท้ายที่สุดทุกอย่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลังจากที่จิตใจปลอดโปร่งแล้ว ดร.วรภัทร์ก็จะให้ผู้บริหารทำ SWAT Analysis ให้ชัดเจนหาโดยเฉพาะการหา Opportunity และหายุทธศาสตร์ที่ตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานในบริษัทในอนาคต

“ตอนเศรษฐกิจล้มผมก็ใช้หลักจิตวิทยา มากๆในการให้กำลังใจเขา อีกทั้งต้องใช้อิทธิบาท4 ให้ฉันทะกับเขาก่อน จากนั้นก็พูดให้กำลังใจเป็น empowerment ซึ่งจะก่อให้เกิดการวิริยะ เกิดเป็น positive thinking ต่อไปเมื่อเขาไปได้เราก็ออกไปเป็น Coaching มองเขาอยู่ห่างๆ ”

นี่แหละคือธรรมะกับการบริหารยุคใหม่ที่สามารถผสมผสานกันอย่างลงตัว !







ความคิดเห็น