ทำไมพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อคัมภีร์ พระไตรปิฏก (ความเชื่อ 10 ประการ)

หลักกาลามสูตร ๑๐ ที่ว่าด้วยการอย่าเชื่อ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้

๑. มา อนุสฺสาเวน อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
๒. มา ปรมฺปราย อย่าเชื่อโดยเหตุสักว่าตามสืบๆ กันมา
๓. มา อิติ กิราย อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว
๔. มา ปิฎกสัมฺปทาเนน อย่าเชื่อโดยอ้างปิฎก
๕. มา ตกฺกเหตุ อย่าเชื่อโดยนึกเดาเอาเอง
๖. มา นยเหตุ อย่าเชื่อโดยคาดคะเน
๗. มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเชื่อโดยการตรึกตรองตามอาการ
๘. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนกฺขนฺติยา อย่าเชื่อโดยเห็นว่าถูกตามลัทธิของตน
๙. มา ภพฺพรูปตาย อย่าเชื่อโดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อได้
๑๐. มา สมโฌ โน ครุ อย่าเชื่อโดยถือว่า สมณะนี้เป็นครูของตน


ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใด ๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขาเห็นได้ด้วยตนเอง

คำว่า ปิฎก ในพระสูตรนี้ รวมหมายถึงพระไตรปิฎกด้วย มีเหตุผลอธิบายดังต่อไปนี้
ภาษาบาลีว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนนา ท่านพระธรรมปิฎก แปลว่า อย่ายึดถือ โดยการอ้างตำรา


คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า


มา ปิฏกสมฺปทาเนนาติ อมฺหาก ปิฏกตนฺติยา สทฺธึ สเมตีติปิ มา คณฺหิตฺถ .
ปิฏก ปิฏกตฺถวิทู ปริยตฺติภาชนตฺถโต อาหุ
เตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ วินยาทโย เยฺยา.

ปริยตฺติปิ หิ "มา ปิฏกสมฺปทาเนนา"ติ อาทีสุ ปิฏกนฺติ วุจฺจติ.
น ปิฏกสมฺปทายาติ อมฺหาก ปิฏกตนฺติยา สทฺธึ สเมตีติ น โหติ.

คัมภีร์ฏีกา อธิบายว่า ปิฏก คนฺโถ สมฺปทียติ เอตสฺสาติ ปิฏกสมฺปทาน, คนฺถสฺส อุคฺคณฺหนโก. เตน ปิฏกอุคฺคณฺหนกภาเวน เอกจฺโจ ตาทิส คนฺถ ปคุณ กตฺวา เตน ต สเมนฺต สเมติ, ตสฺมา "ภูตเมตนฺ"ติ คณฺหาติ, ต สนฺธาเยส ปฏิกฺเขโป "มา ปิฏกสมฺปทาเนนา"ติ, อตฺตโน อุคฺคหคนฺถสมฺปตฺติยา มา คณฺหิตฺถาติ วุตฺต โหติ

อรรถกถามัชฌิมนิกายกล่าวว่า ปิฏก ศัพท์ หมายถึง พระไตรปิฎก มีบาลีว่า “ ปิฏกสมฺปทายาติ ปาวจนสงฺขาตสมฺปตฺติยา. สาวิตฺติอาทีหิ ฉนฺทพนฺเธหิ จ วคฺคพนฺเธหิ จ สมฺปาเทตฺวา อาคตนฺติ ทสฺเสติ
ฎีกาทีฆนิกายกล่าวว่า ปิฏก ศัพท์ หมายถึง พระบาลี (พระไตรปิฎก)ว่า “มา ปิฏกสมฺปทาเนนาติ กาลามสุตฺเต, สาฬฺหสุตฺเต จ อาคต ปาฬิมาห. ตทฏฺกถายฺจ "อมฺหาก ปิฏกตนฺติยา สทฺธึ สเมตีติ มา คณฺหิตฺถา"ติ อตฺโถ วุตฺโต. อาจริยสาริปุตฺตตฺเถเรน ปน "ปาฬิสมฺปทานวเสน มา คณฺหถา"ติ วุตฺต




ในเรื่องนี้ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต) อธิบายว่า

คำว่า อย่ายึดถือ ในที่นี้ ขอให้เข้าใจความว่า หมายถึงการไม่ตัดสินหรือลงความเห็นแน่นอนเด็ดขาดลงไปเพียงเพราะเหตุเหล่านี้ ตรงกับคำว่า "อย่าปลงใจเชื่อ" อนึ่ง ไม่พึงแปลความเลยเถิดไปว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ แต่พึงเข้าใจว่าแม้แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาด ยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาก่อน ก็ขนาดสิ่งที่น่าเชื่อที่สุดแล้วท่านยังไม่คิดเชื่อ ให้พิจารณาให้ดีก่อน สิ่งอื่นคนอื่นเราจะต้องคิดพิจารณาระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์จะตรัสธรรมเป็นกลางๆเป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึงว่าหลักธรรมนั้นเป็นของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชัดจูงให้เขาเชื่อเลื่อมใสต่อพระองค์หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์ พึงสังเกตด้วยว่าจะไม่ทรงอ้างพระองค์หรืออำนาจเหนือธรรมชาติพิเศษอันใดเป็นเครื่องยืนยันคำสอนของพระองค์ นอกจากเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ให้เขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาของเขาเอง



.....พุทธประสงค์ที่แท้จริงในการตรัสเรื่องนี้ ก็คือ ไม่ทรงให้ปลงใจเชื่อถือเพียงเพราะอ้างตำรารวมไปถึงตำราที่เรียกกันว่าพระไตรปิฎกด้วย แต่ก็มิใช่หมายความว่าไม่ให้เชื่ออะไรเลย ทรงประสงค์ว่า การตัดสินใจเชื่อในแต่ละเรื่องมิใช่ตัดสินใจเชื่อเพียงเพราะเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ใน ๑๐ ประการนี้ แต่ควรจะมีข้อมูลในการตัดสินใจเชื่อที่มากไปกว่านั้น เช่น ไม่ให้ตัดสินใจเชื่อเพียงเพราะฟังจากอาจารย์อย่างเดียว แต่ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนว่า คำพูดของอาจายร์นั้นสอดคล้องกับตำราอื่นหรือไม่ นำไปทดสอบทดลองแล้ว มีหลักการพอจะเข้ากันได้หรือไม่ เป็นต้น ทำดังนี้แล้วจึงค่อยตัดสินใจเชื่อ ....มิใช่ว่า ห้ามไม่ให้เชื่ออะไรเลย ( เพราะการเชื่อในหลักกาลามสูตร..ก็เป็นการเชื่อคัมภีร์เช่นกันมิใช่หรือ??)

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอีกว่า “เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้วจะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงละเสีย ฯลฯ เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติ จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบำเพ็ญ(ธรรมเหล่านั้น)"



อ้างอิง...

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต เกสปุตติสูตร (ไทย) ๒๐/๖๖/๒๕๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัททิยสูตร (ไทย)๒๑/๑๙๓/๒๘๗
อรรถกถา องฺ.อ.(บาลี) ๒/๑๕๔/๒๐๓
อรรถกถา ที.สี.อ.(บาลี) ๑/๑๗
อรรถกถา ขุ.มหา.อ.(บาลี) ๑๕๖/๓๙๑
คัมภีร์ฏีกา องฺ.ฏีกา.(บาลี)๒/๒๖๘/๒๐๙
อรรถกถา ม.ติก.อ.(บาลี)๓/๔๕๓/๓๐๔
คัมภีร์ฏีกา ที.สี.อภินวฏีกา (บาลี) หน้า ๑๑๖
ดูรายละเอียดใน หนังสือพุทธธรรม
มหานิทเทส ปุราเภทสุตตนิทเทส เล่มที่ ๒๙ ข้อ ๘๗ หน้า ๒๗๑

credit: montasavi

ความคิดเห็น