บัวสี่เหล่า

บัวสี่เหล่า


บัวสี่เหล่า

พระพุทธองค์ท่านทรงหยั่งเห็นสันดานของมนุษย์ประดุจดังดอกบัว ๔ เหล่า
เ มื่อพระพุทธองค์ทรงรับคำอารธนาของ
ท้าวสหัมบดีพรหมแล้ว
ทรงเปรียบเทียบมนุษย์กับดอกบัว 4 ประเภท
คือ บัวสี่เหล่า คือ บัวใต้น้ำเป็นหนึ่งในระดับของสติปัญญา
จากเรื่องบัวสี่เหล่า นั้นแสดงให้เห็นถึงความสามารถ
ของคนที่เรียนรู้เรื่องต่างๆ เป็น 4 ระดับ คือ


1. อุคฆติตัญญุ คือ พวกฉลาดมาก เหมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว
พวกมีสติปัญญา ฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว
เพียงได้ฟังหัวข้อธรรมที่ยกขึ้น ก็จะเข้าใจได้โดยง่าย
เปรียบเหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำแล้วพอเจอแสงอาทิตย์ก็
เปล่งบานรับแสงอาทิตย์ฉันใดผู้เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้นค่ะ

2 วิปจิตัญญู คือ พวกฉลาดพอควร เหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ หรือปริ่มน้ำ
คือพวกที่มีสติปัญญาปานกลาง
เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจราณาตามและ
ได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม ก็จะสามารถรู้
และเข้าใจได้ในเวลาไม่ช้า เปรียบเสมือน
ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป
เพียงฟังคำอธิบายก็เข้าใจได้เปรียบเหมือนดอกบัวที่
คอยแสงอาทิตย์พร้อมที่จะรับแสงและบาน

3 เนยยะ คือ พวกฉลาดปานกลาง หรือเวไนย
สัตว์ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่ เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อ
ได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝน
เพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ
มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ
ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
ซึ่งจะค่อยๆโผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ มีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาในวัน
ต่อๆไป เมื่อได้รับการอบรมบ่มสติปัญญาพอควรก็จะเข้าใจ
ธรรมได้

4. ปทปรมะ คือ ผู้ที่โง่เขลา เหมือนบัวที่อยู่ในโคลนตม
พวกที่ไร้สติปัญญาและยังเป็น มิจฉาทิฏฐิ แม้ฟังธรรมก็
ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ทั้งยังขาดศรัทธา
ปสาทะ
ไร้ซึ่งความเพียรเปรียบเสมือน ดอกบัวที่จมอยู่โคลนตม
ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลาอีกด้วยไม่มีโอกาสโผล่
ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบานได้อีกยากที่จะสอนให้เข้าใจได้ ไม่มี
โอกาสโผล่เหนือน้ำ
ฉะนั้นบุคคลจำพวกนี้สอนไปก็ยากที่จะเข้าใจเขาก็จะอยู่
ใต้ตรมโคล่ไม่มีวันโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเพราะปัญญาเขามีแค่
นั้น
เขาจึงเปรียบบัวใต้น้ำคือพูดง่ายๆนะผู้โง่เขลานั่นเอง

ความคิดเห็น