การทำบุญคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการไปทำบุญที่วัดตักบาตรเป็นส่วนมาก
แต่ถ้าเราไม่มีเวลาไม่ค่อยได้ใส่บาตร หรือไปทำบุญที่วัด
ก็ทำให้ขาดโอกาสในการสะสมบุญของเรา
สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาในการทำบุญ ทำกุศลก็จะขอบอกวิธีต่อไปนี้เพื่อจะได้เข้าใจในการสะสมบุญโดยไม่ต้องไปทำที่วัด
คือ “การสวดมนต์” ซึ่งเป็นการทำบุญง่าย ๆสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา
เชื่อว่าทุกบ้านต้องมีหิ้งบูชาพระ หรือโต๊ะหมู่บูชาพระ
ถ้าไม่มีให้หารูปพระมาติดไว้ที่ข้างฝาบ้านก็ได้
ถ้าไม่มีเลยก็ใช้จิตระลึกถึง เพียงหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก หรือบริเวณที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ จากนั้นเตรียมกระปุกใส่เงินเอาไว้ 1 ใบ
ทุกๆ วันให้หาเวลาเพียงวันละ 20-30 นาที เพื่อจะสวดมนต์ไหว้พระ
จะเป็นเวลาไหน ก็ได้ที่เรารู้สึกสบายใจ.
ปุจฉาวิสัชนา
ถามว่า ขณะที่เราสวดมนต์นั้นเราสวดบูชาใคร?
ตอบว่า เราสวดมนต์บูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขณะที่สวดจิตเราก็น้อมอยู่กับคุณพระรัตนตรัย
ถามว่า ขณะที่สวดมนต์อยู่นั้นเราสวดด้วยจิตที่มีอาการสำรวม มีความตั้งใจในการสวด
อาการที่จิตสำรวม มีความตั้งใจเป็นอาการของอะไร?
ตอบว่า เป็นอาการของสมาธิ คือได้แล้วสมาธิเบื้องต้น
ถามว่า ขณะที่สวดมนต์จิตของเราคอยนึกถึง ระวังไม่ให้หลงลืมในบทสวดนั้น เป็นอาการของอะไร?
ตอบว่า เป็นอาการของสติ ได้ฝึกสติในเวลาสวดมนต์ไปในตัว
ถามว่า การที่เราได้สวดมนต์เพียงไม่กี่นาทีในแต่ละครั้ง เราจะได้บารมีอะไรบ้าง?
ตอบว่า
1. เมื่อสวดมนต์เสร็จตั้งจิตเป็นสมาธิ อธิษฐานจิตเอาเงินที่จบใส่กระปุกที่เตรียมไว้เป็น“ทานบารมี”
2. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่เราไม่ได้ทำบาปกรรมกับใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวดเป็น “ศีลบารมี”
3. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่จิตเราปราศจากนิวรณ์มารบกวนใจ ถือว่าเป็นการบวชใจเป็น“เนกขัมมะบารมี”
4. การที่เราสวดมนต์ไหว้พระไม่ใช่เป็นการงมงาย แต่เราทำด้วยใจศรัทธา ทำด้วยปัญญาที่เห็นว่ามันมีประโยชน์
ช่วยฝึกจิตให้เกิดสติมีสมาธิเป็น “ปัญญาบารมี”
5. ถ้าเราขี้เกียจไม่มีความเพียร เราก็จะทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรเป็น “วิริยะบารมี”
6. มีความเพียรแล้ว ต้องมีความอดทนเป็น “ขันติบารมี”
7. มีความเพียร มีความอดทนแล้ว ต้องมีสัจจะในการกระทำ หมายถึงความจริงใจเป็น“สัจจะบารมี”
8. เมื่อสวดมนต์เสร็จทำสมาธิ ตั้งจิตอธิษฐานเป็น “อธิษฐานบารมี”
9. ใส่บาตรเสร็จต้องแผ่เมตตา อุทิศบุญ การแผ่เมตตาเป็น “เมตตาบารมี”
10. ขณะที่แผ่เมตตาเราต้องทำใจให้เมตตาไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งหลาย อโหสิกรรมกับบุคคลที่เราได้เคยล่วงเกินกันมา
ไม่โกรธ ไม่เกลียดใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบเย็นเป็น “อุเบกขาบารมี”
เห็นไหมว่าเพียงแค่เราสวดมนต์ไม่กี่นาทีต่อวันเราก็ได้บารมีครบถ้วน
และสิ่งเหล่านี้เองก็จะสะสมอยู่ในใจของเราทีละเล็กทีละน้อย
แล้วเงินที่เราหยอดกระปุกทุกครั้งที่สวดมนต์นั้นก็เหมือนกับ
เราได้ใส่บาตรทุกวันโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
เมื่อใดมีโอกาสเข้าวัดไปทำบุญก็เอาเงินในกระปุกนั้นแหละไปทำบุญ
ไปหยอดตู้บริจาค ซื้ออาหารถวายพระสงฆ์ จะทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างพระสร้างหนังสือธรรมะ อะไรก็ตามที่เป็นสาธารณประโยชน์ ก็เอาเงินนี้แหละไปร่วมทำบุญได้สบายๆ ได้อานิสงค์มาก
แล้วจิตของเราก็จะติดอยู่กับกุศลทุกวันเมื่อถึงเวลามันก็จะรวมเข้าในจิตของเราเป็นหนึ่งเดียว
แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เราก็ไม่ได้อะไรเลย
ดังนั้นคนที่ไม่ค่อยมีเวลาใส่บาตร เข้าวัดทำบุญ
ถ้าเห็นว่าวิธีนี้มีประโยชน์ก็พยายามจัดเวลาสำหรับสวดมนต์
ปฏิบัติให้ได้ทุกวันแล้วท่านจะเห็นผลสมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการในไม่ช้าอย่างแน่นอนโดยไม่มีข้อสงสัย
เป็นปัจจัตตัง คือจะรู้ด้วยตัวเอง..
คัดลอกจาก เว็บพระรัตนตรัย คุณพันชิตา
แต่ถ้าเราไม่มีเวลาไม่ค่อยได้ใส่บาตร หรือไปทำบุญที่วัด
ก็ทำให้ขาดโอกาสในการสะสมบุญของเรา
สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาในการทำบุญ ทำกุศลก็จะขอบอกวิธีต่อไปนี้เพื่อจะได้เข้าใจในการสะสมบุญโดยไม่ต้องไปทำที่วัด
คือ “การสวดมนต์” ซึ่งเป็นการทำบุญง่าย ๆสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา
เชื่อว่าทุกบ้านต้องมีหิ้งบูชาพระ หรือโต๊ะหมู่บูชาพระ
ถ้าไม่มีให้หารูปพระมาติดไว้ที่ข้างฝาบ้านก็ได้
ถ้าไม่มีเลยก็ใช้จิตระลึกถึง เพียงหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก หรือบริเวณที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ จากนั้นเตรียมกระปุกใส่เงินเอาไว้ 1 ใบ
ทุกๆ วันให้หาเวลาเพียงวันละ 20-30 นาที เพื่อจะสวดมนต์ไหว้พระ
จะเป็นเวลาไหน ก็ได้ที่เรารู้สึกสบายใจ.
ปุจฉาวิสัชนา
ถามว่า ขณะที่เราสวดมนต์นั้นเราสวดบูชาใคร?
ตอบว่า เราสวดมนต์บูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขณะที่สวดจิตเราก็น้อมอยู่กับคุณพระรัตนตรัย
ถามว่า ขณะที่สวดมนต์อยู่นั้นเราสวดด้วยจิตที่มีอาการสำรวม มีความตั้งใจในการสวด
อาการที่จิตสำรวม มีความตั้งใจเป็นอาการของอะไร?
ตอบว่า เป็นอาการของสมาธิ คือได้แล้วสมาธิเบื้องต้น
ถามว่า ขณะที่สวดมนต์จิตของเราคอยนึกถึง ระวังไม่ให้หลงลืมในบทสวดนั้น เป็นอาการของอะไร?
ตอบว่า เป็นอาการของสติ ได้ฝึกสติในเวลาสวดมนต์ไปในตัว
ถามว่า การที่เราได้สวดมนต์เพียงไม่กี่นาทีในแต่ละครั้ง เราจะได้บารมีอะไรบ้าง?
ตอบว่า
1. เมื่อสวดมนต์เสร็จตั้งจิตเป็นสมาธิ อธิษฐานจิตเอาเงินที่จบใส่กระปุกที่เตรียมไว้เป็น“ทานบารมี”
2. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่เราไม่ได้ทำบาปกรรมกับใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวดเป็น “ศีลบารมี”
3. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่จิตเราปราศจากนิวรณ์มารบกวนใจ ถือว่าเป็นการบวชใจเป็น“เนกขัมมะบารมี”
4. การที่เราสวดมนต์ไหว้พระไม่ใช่เป็นการงมงาย แต่เราทำด้วยใจศรัทธา ทำด้วยปัญญาที่เห็นว่ามันมีประโยชน์
ช่วยฝึกจิตให้เกิดสติมีสมาธิเป็น “ปัญญาบารมี”
5. ถ้าเราขี้เกียจไม่มีความเพียร เราก็จะทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรเป็น “วิริยะบารมี”
6. มีความเพียรแล้ว ต้องมีความอดทนเป็น “ขันติบารมี”
7. มีความเพียร มีความอดทนแล้ว ต้องมีสัจจะในการกระทำ หมายถึงความจริงใจเป็น“สัจจะบารมี”
8. เมื่อสวดมนต์เสร็จทำสมาธิ ตั้งจิตอธิษฐานเป็น “อธิษฐานบารมี”
9. ใส่บาตรเสร็จต้องแผ่เมตตา อุทิศบุญ การแผ่เมตตาเป็น “เมตตาบารมี”
10. ขณะที่แผ่เมตตาเราต้องทำใจให้เมตตาไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งหลาย อโหสิกรรมกับบุคคลที่เราได้เคยล่วงเกินกันมา
ไม่โกรธ ไม่เกลียดใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบเย็นเป็น “อุเบกขาบารมี”
เห็นไหมว่าเพียงแค่เราสวดมนต์ไม่กี่นาทีต่อวันเราก็ได้บารมีครบถ้วน
และสิ่งเหล่านี้เองก็จะสะสมอยู่ในใจของเราทีละเล็กทีละน้อย
แล้วเงินที่เราหยอดกระปุกทุกครั้งที่สวดมนต์นั้นก็เหมือนกับ
เราได้ใส่บาตรทุกวันโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
เมื่อใดมีโอกาสเข้าวัดไปทำบุญก็เอาเงินในกระปุกนั้นแหละไปทำบุญ
ไปหยอดตู้บริจาค ซื้ออาหารถวายพระสงฆ์ จะทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างพระสร้างหนังสือธรรมะ อะไรก็ตามที่เป็นสาธารณประโยชน์ ก็เอาเงินนี้แหละไปร่วมทำบุญได้สบายๆ ได้อานิสงค์มาก
แล้วจิตของเราก็จะติดอยู่กับกุศลทุกวันเมื่อถึงเวลามันก็จะรวมเข้าในจิตของเราเป็นหนึ่งเดียว
แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เราก็ไม่ได้อะไรเลย
ดังนั้นคนที่ไม่ค่อยมีเวลาใส่บาตร เข้าวัดทำบุญ
ถ้าเห็นว่าวิธีนี้มีประโยชน์ก็พยายามจัดเวลาสำหรับสวดมนต์
ปฏิบัติให้ได้ทุกวันแล้วท่านจะเห็นผลสมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการในไม่ช้าอย่างแน่นอนโดยไม่มีข้อสงสัย
เป็นปัจจัตตัง คือจะรู้ด้วยตัวเอง..
คัดลอกจาก เว็บพระรัตนตรัย คุณพันชิตา
ความคิดเห็น